วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

การประยุกต์ใช้ในเชิงนิติวิทยาศาสตร์

      ตามปกติการจะบอกว่าใครเป็นใครจะดูได้จากวันเดือนปีเกิด ข้อมูลจากบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง รูปถ่าย หรือรอบแผลเป็น แต่สิ่งต่างเหล่านี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การปลอมแปลง การเกิดอุบัติเหตุ สารเคมี เป็นต้น นอกจากนี้หลักฐานที่กล่าวมายังไม่สามารถบอกความสัมพันธ์ทางสายเลือดได้
     แต่ในปัจจุบันบันเป็นที่ทราบกันแล้วว่า เซลล์ของคนแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน และเซลล์ของคนๆเดียวจะมี DNA เหมือนกันทุกชนิดของเซลล์ นอกจากนี้ยังรู้ว่าลูกจะได้สาร DNA หรือยีนจากพ่อแม่อย่างละครึ่ง จึงทำให้เราสามารถบอกความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ และบอกเอกลักษณ์ของแต่ละคนได้ โดยอาศัยแถบของ DNA (DNA band) ที่เกิดจากการใช้เอมไซม์ตัดเฉพาะ และเทคนิคเจลอิเล็กโทรโฟริซิส ซึ่งแถบของ DNA ของแต่ละคนจะแตกต่างกันและเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคนนี้เรียกว่า ลายพิมพ์ DNA (DNA finger print) ซึ่งลายพิมพ์ DNA ของคนสองคนที่ไม่ใช่แฝดแท้ โอกาสที่จะเหมือนกันมีน้อยมากหรือไม่มีเลย การที่เป็นเช่นนี้ทำให้สามารถพิสูจน์ตัวบุคคล พิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือด พิสูจน์การฆาตกรรม พิสูจน์คนเข้าเมือง พิสูจน์การให้สัญชาติ พิสูจน์ศพ เช่น ผู้เสียชีวิตจากคลื่นยักษ์สึนามิ พิสูจน์ชิ้นเนื้อจากคดีฆาตกรรมฆ่าหั่นศพ เป็นต้น

การปฏิวัติทางการศึกษา


    วิธีการเรียนรู้ของนักเรียนนักศึกษาในอนาคตจะเปลี่ยนไปอย่างมาก คือจะเน้นตัวผู้เรียนเป็นหลัก แทนการเน้นตัวผู้สอนที่สอนนักเรียนจำนวนมากพร้อมกันทั้งห้อง ซึ่งเป็นวิธีที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อประมาณสองศตวรรษก่อน วิธีการเรียนในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ นี้จะเป็นการเรียนรู้แบบสร้างประสบการณ์โดยเน้นให้นักเรียนค้นพบด้วยตัวเอง (learning by discovery) เป็นการศึกษาที่นักเรียนจะเรียนรู้ว่าจะเรียนรู้เองต่อไปได้อย่างไร (learning how to learn) ที่เป็นดังนี้ได้ เพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ทำงานมัลติมีเดียจะทำให้เราสามารถกลับไปใช้ระบบที่ครูทำหน้าที่สำคัญในการสอน และชี้นำนักเรียนเป็นรายบุคคล คอมพิวเตอร์จะช่วยให้ครูไม่ต้องทำงานซ้ำๆกันในการสอนกิจกรรม  อย่างง่าย และสามารถใช้เวลามากขึ้นกับนักเรียนที่ต้องการความเอาใจใส่มากเป็นพิเศษ การศึกษาที่ใช้เทคโนโลยี (technology aided education)มีข้อได้เปรียบหลายประการคือ
          - การเรียนรู้เป็นแบบโต้ตอบกัน
          - นักเรียนจะเรียนรู้ได้ในอัตราความเร็วที่เหมาะสมกับตนเอง
          - การเรียนรู้จะเกิดขึ้นที่ใดก็ได้ โดยผ่านระบบการเรียนทางไกล (distance learning) ที่ต่อโยงผู้เรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียไปยังศูนย์การศึกษา
          - อุปกรณ์ประกอบการเรียนจะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น เพราะจะมีทั้งอักษร ภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว และเสียง และการต่อโยงของเนื้อหาในแบบไฮเปอร์มีเดีย (hypermedia) ซึ่งช่วยให้นักเรียนสามารถถามถึงสิ่งที่ตนสนใจต่อโยงกันไปได้เรื่อยๆโดยไม่ถูกจำกัดให้เห็นเฉพาะส่วนที่กำหนดไว้

โลกในยุคทางด่วนสารสนเทศ


    ขณะนี้โลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคของสภาพเสมือนจริง (Virtual Reality) ซึ่งเปรียบได้ว่าเป็นเขตแดนบุกเบิกของคริสต์  ศตวรรษที่ ๒๑ เราจะพบว่า ประกอบด้วยถนนอิเล็กทรอนิกส์ที่ประกอบด้วยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) ซึ่งมีทั้งนิวส์กรุ๊ป (Newsgroup) เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) และบริการสารสนเทศต่างๆ รวมถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของเอกชนอีกมากมายคำว่า ทางด่วนสารสนเทศ นั้นมักใช้อ้างถึงระบบเชื่อมโยงทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ครอบคลุมทั่วโลกในปัจจุบัน บางครั้งก็มีการใช้คำว่า โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศของประเทศ (National Infor-mation Infrastructure) บางครั้งสื่อมวลชนก็ใช้คำว่า ไซเบอร์สเปซ (cyberspace) ในเขตแดนใหม่ที่กล่าวถึงนี้ มีกิจกรรมอีกหลายอย่างที่กำลังเปลี่ยนแปลงสังคมที่เราเคยรู้จักอยู่ทั้งในด้านบันเทิงการศึกษา ธุรกิจ ฯลฯ และมีปัญหาเกิดขึ้นตามมาอีกหลายอย่างที่จะต้องมีการแก้ไขกันต่อไป เช่นในเรื่องการละเมิดกฎหมาย หรืออาชญากรรมที่กระทำผ่านไซเบอร์สเปซ
    ในอนาคต กิจกรรมในชีวิตประจำวันแทบทุกอย่างของมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในสังคมสมัยใหม่จะเกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และการประยุกต์ใช้วิชาการหุ่นยนต์ (robotics)ที่ว่าด้วยการใช้หุ่นยนต์ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ซึ่งทำงานโต้ตอบกันเป็นภาษาพูดของมนุษย์ (human language interaction) การที่ต้องเรียนรู้ภาษาคอมพิวเตอร์ หรือวิธีการใช้คอมพิวเตอร์ที่ยุ่งยากซับซ้อนนั้นจะหมดไป รายการของงานที่คาดว่าจะมีการใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก

เทคโนโลยีการผลิต


   
     ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิต เป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องว่าด้วยการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และหลักวิชาการจัดการ เพื่อมุ่งเน้นในการสร้างประโยชน์สูงสุดสำหรับการปรับปรุงและเพิ่มผลผลิต คุณภาพ และการจัดการกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรม สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิต จัดตั้งขึ้นเมื่อปีการศึกษา 2538 โดยเปิดสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต เพื่อผลิตนักเทคโนโลยีการผลิตที่มีความรู้ความสามารถในกากรประยุกต์ใช้หลักการทางวิชาการในการปรับปรุงประสิทธิภาพอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ทางสาขาวิชาได้สร้างความร่วมมือด้านการเรียนการสอนร่วมกับคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


ประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษา


      วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ หมายถึงการประชุมทางจอภาพ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคล หรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ และห่างไกลกันโดยใช้สื่อทางด้านมัลติมีเดีย ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อมูลตัวอักษร ในการประชุมเวลาเดียวกัน และเป็นการสื่อสาร 2 ทาง จึงทำให้ ดูเหมือนว่าได้เข้าร่วมประชุมร่วมกันตามปกติ ด้านการศึกษาวิดีโอเทคเลคอนเฟอเรนซ์ ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ผ่านทางจอภาพ โทรทัศน์และเสียง นักเรียนในห้องเรียน ที่อยู่ห่างไกลสามารถเห็นภาพและเสียง ของผู้สอนสามารถเห็นอากับกิริยาของ ผู้สอน เห็นการเคลื่อนไหวและสีหน้าของผู้สอนในขณะเรียน คุณภาพของภาพและเสียง ขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางการสื่อสาร ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสองฝั่งที่มีการประชุมกัน ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์ ลำโพง ไมโครโฟน กล้อง อุปกรณ์เข้ารหัสและถอดรหัส ผ่านเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงแบบไอเอสดีเอ็น (ISDN)